“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ล้นเกล้าฯ จอมปราชญ์ พระราชบิดาแห่งการปฏิรูป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชบิดาแห่งการปฏิรูป พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทั้งศาสตร์และศิลป์ พระปรีชาสามารถของพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษาศาสตร์ ที่เปรียบเสมือนกุญแจนำไปสู่การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการพระศาสนา การทหาร การปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน การศึกษา และเศรษฐศาสตร์ ทำให้ประเทศเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งศิลปวิทยาการ และวัฒนธรรมประเพณี ก็ได้รับการฟื้นฟูให้รุ่งเรืองขึ้นเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ เพื่อรักษาเอกราชอธิปไตย ท่ามกลางลัทธิล่าอาณานิคมที่กำลังแผ่ขยายออกไปทั่วโลก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ทรงได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ 200 พรรษา ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเชื้อไข้มาลาเรีย จากการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ พระองค์ทรงประชวรด้วยโรคมาลาเรียและเสด็จสวรรคคตในคืนวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411 ขณะที่พระชนมายุของพระองค์ครบรอบ 64 พรรษา
พระที่นั่งภูวดลทัศไนย (หอนาฬิกา) ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หีบผลงานของหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)
หอนาฬิกา ซึ่ง เอนก นาวิกมูล ตีความจากเรื่องนาฬิกาได้ว่า ตั้งอยู่หน้าหอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ตรงสนามหญ้าหน้าวัดพระแก้ว) อยู่ระหว่างทิมดาบกับโรงทอง ข้างบนทำอย่างหลังคาตัด มีลูกกรง
รีวิวหน้าจะมาเล่าภาพสำคัญที่่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “การทอดพระเนตร จันทรุปราคา ในวังหลวง ” โปรดติดตาม