เทรนด์สุขภาพ สิ่งที่เราคาดหวังได้ในปีหน้าในด้านของ Digital health
เทรนด์สุขภาพ เรากำลังอยู่ใน ทางแยกที่ประหลาดมาก ในตอนนี้ ในทางหนึ่ง มันรู้สึกเหมือนว่า โลกของเรานั้น ถูกแช่แข็งไว้ในขณะที่ เวลาก็เดินไปทาง ข้างหน้าเหมือนเดิม ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 ในอีกทางหนึ่ง อุตสาหกรรม Health Care นั้นได้วิ่งไปข้างหน้า อย่างรวดเร็ว ร่นระยะเวลาการวิวัฒนาการ ของ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ไปถึง 2 ทศวรรษ ทำลายสถิติทุก ๆ อย่างที่ตั้งไว้ในอุตสาหกรรมแห่งนี้
สุขภาพจิตของเรา ในช่วงนี้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานั้นขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนรถไฟเหาะ เพราะสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งมันได้เร่งการพัฒนา นวัตกรรมในทุก ๆ ด้านของอุตสาหกรรม Health Care ปัจจุบันนั้น ดั่งฝุ่นควันจาก ความโกลาหลได้เริ่ม เบาบางลง หลาย ๆ นักลงทุน และนักธุรกิจนั้น ตระหนักแล้วว่า เหล่าเหตุผลร้อยพัน ที่ต้องการจะหยุดเหตุการณ์ Disruptive Technology นั้นไม่มีน้ำหนักอีกแล้ว
ทำให้ตอนนี้ ผู้คนเหล่านั้นจึง เปลี่ยนใจและมองหา หนทางที่จะใช้ โอกาสนี้เก็บเกี่ยว ผลประโยชน์ให้มากที่สุด จากสถานการณ์นี้ ซึ่งส่งผลให้เงินทุน ในอุตสาหกรรม Health Care โดยเฉพาะ Digital Heatlh นั้นพุ่งขึ้นสูงมาก และด้วยกราฟที่ ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า อันแสนไกลบนโลก ของสุขภาพ ได้หันไปมุ่งมั่น ได้ด้านของ นวัตกรรมเทคโนโลยี(ทางการแพทย์)
และนี่คือสิ่งที่เราคาดหวังได้ในปีหน้า:
การผงาดขึ้นของระบบ Direct to consumer healthcare
เมื่อผู้ใช้งาน ลูกค้า หรือผู้บริโภค นั้นเริ่มถูกจัดกลุ่มกัน เป็นกลุ่มย่อย ๆ Direct-to-consumer technology หรือ concierge approach(การรักษาคนไข้ด้วย การสัมภาษณ์และ ถามคำถาม เพื่อคิดค้นโซลูชัน ในการรักษาเฉพาะตัวบุคคล) จึงได้รับผลตอบรับ เป็นจำนวนมาก ทั้งตัวผู้ใช้งาน ที่เพิ่มขึ้น และองค์กรที่ หันมาสร้างระบบประเภทนี้ ก็เยอะขึ้นตามไป ตามกฎ Demand Supply
โดยเหล่าบริษัท ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่มีเป้าหมายเฉพาะ ลูกค้ากระเป๋าหนักอย่าง GoodRx, Hims, Ro หรือ Curology ได้มีส่วนร่วมกับ การเติบโตด้านนี้อย่างมาก
บริษัทเหล่านี้นั้น ไม่กล้าแม้แต่จะคิด ที่จะละเลย หรือบริการลูกค้าตัวเอง แบบขอไปทีได้ เพราะลูกค้าของพวกเขานั้น ควักเงินในกระเป๋าตัวเอง ออกมาเป็นจำนวนมหาศาล ในทางกลับกัน ก็เกิดจากเทคโนโลยี บีบบังคับพวกเขา ให้สร้างบริการ ที่มีคุณภาพ เพราะการขาดการการันตี ในเรื่องฐานลูกค้าที่จะ สามารถเข้าถึงราคา การบริการของตัวเอง
และด้วยเทคโนโลยี ที่สร้างความสะดวก ให้แก่ลูกค้ามากขึ้น ความต้องการต่อบริการ เหล่านั้นที่บริษัทนำเสนอ ก็ขาดพลังในการชักจูง มากขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้องค์กรเหล่านี้ ต้องกระตือรือร้นตัวเอง สร้างมูลค่าใหม่ ๆ ให้กับองค์กร ซึ่งเหตุการณ์นี้ ส่งผลให้ทุก ๆ บริษัทปรับเปลี่ยน การบริการของตัวเอง และผู้บริโภคก็ได้ ประโยชน์มากขึ้นไปอีก
เทรนด์สุขภาพ สุขภาพจิตได้กลายเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวของมนุษย์มากขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิต นั้นได้กลายเป็น สิ่งที่คนคำนึงถึง มากขึ้นเรื่อย ๆ ในตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในขณะที่หลาย ๆ อย่างก็ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะโควิด ที่เพิ่มการตระหนัก ของปัญหานี้และทำให้มันกลายเป็น ปัญหาเร่งด่วนและ สร้างโซลูชันหลาย ๆ อย่างขึ้นมา(เพราะคนต้องอยู่บ้านกันเป็นหลัก สร้างความเครียดและหลาย ๆ ปัจจัย เกิดปัญหาทางจิต หลายรูปแบบ)
แต่ในขณะที่ ในตลาดนั้นเต็มไปด้วย วิธีการบำบัดสารพัดรูปแบบ ทั้งแอปพลิเคชัน การทำสมาธิ และเครื่องมือ ที่สร้างมาเพื่อช่วยในเรื่อง การบำบัดจิตใจ ให้ดีขึ้น ก็เกิดการตั้งคำถาม ในเรื่องของประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ของ เครื่องมือต่าง ๆ พวกนั้น
เราสามารถคาดหวังว่า จะเห็นความต้องการ ที่จะค้นหาโซลูชันในเรื่องนี้ แต่นวัตกรรมของโลก ก็ยังต้องค้นหา ปัญหาในหลาย ๆ ระดับ และสร้างตัวอย่าง ที่เหมาะสม ที่จะนำพาไปแก้ไข ปัญหาบาดแผล ทางจิตใจต่อไป
มากกว่าแค่ โทรเวช (Telemedicine)
ในช่วงความโกลาหลแรก ๆ ของการระบาด ระบบสุขภาพนั้น เริ่มจะพุ่งเข้าหาผู้ป่วย อย่างรวดเร็วด้วยระบบ “โทรเวช” (Telemedicine) ในหลาย ๆ เคสนั้น ทำให้ผู้ป่วย มีตัวเลือกในการที่ จะพบกับผู้ให้บริการ(ไม่ว่าจะเป็นคนกลาง หรือคุณหมอ) ผ่านวิดีโอคอล
แม้ระบบการเข้าถึง ผู้ป่วยปกตินั้นจะกลับมา ให้บริการเหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยหลาย ๆ คนนั้นก็เริ่มจะคุ้นเคย กับความสะดวกสบายของ Virtual care และคาดหวังว่า จะมีตัวเลือกนี้ ในระบบการรักษาสุขภาพต่อไป แต่ก็กังวลถึงคุณภาพ ในการรักษาและข้อจำกัด ของการรักษาที่สามารถ ทำได้ผ่านวิดีโอเช่นกัน(ซึ่งจากบันทึกแล้ว ยังบริการได้น้อย)
อุปกรณ์ RPM ก็เข้ามามีส่วนร่วมเช่นกัน
โรงพยาบาลเริ่มใช้ เครื่องมือตรวจผู้ป่วยทางไกล(รวมถึง RPM) เป็นเครื่องมือเสริม ด้วย RPM ผู้ป่วยสามารถ ติดตามชีพจรของ ตัวเองจากบ้าน ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม และยังสามารถบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงในระบบข้อมูลส่วนกลาง(EMR)
หนึ่งในประโยชน์ของ RPM ที่ได้รับความนิยมนั้น คือความสามารถที่จะ สามารถสร้างระบบ ปฏิสัมพันธ์กันที่ เป็นแบบ asynchronous (ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกัน หรือไม่ต้องเชื่อมโยงกัน) ระหว่างผู้ป่วย และ ผู้รักษา ซึ่งเป็นปัจจัย ที่ส่งผลอย่างมาก สำหรับแพทย์ในขณะนั้น ที่ได้รับผลกระทบจาก การขาดแคลนบุคลากร ทางการแพทย์ที่จะดูแล ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ
ติดตามข่าวสารดี ๆ แบบนี้ เช่น แหล่งรีวิวทุกอย่าง, เทรนด์ติดบ้าน, เทรนด์แฟชั่น 2022 และ ไทยเทรนด์ ชีวิตติดรีวิว ได้ที่ >>> เทรนด์คนไทย <<<
เรียบเรียงโดย อลิส
ติดตามข่าวสารดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ :