เทรนด์คอมเมิร์ซ ในเมืองไทย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ทั้งคนขายและคนซื้อ

เทรนด์คอมเมิร์ซ

เทรนด์คอมเมิร์ซ เทรนด์ใหม่มาแรง ครองตลาดเมืองไทย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ในยุคโควิด

เทรนด์คอมเมิร์ซ มีความเติบโต อย่างก้าวกระโดด ในปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโต ของอีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทย มีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น อัตราการซื้อ สินค้าออนไลน์ (Ecommerce Adoption) ของคนไทยที่ อัตราการซื้อของ ออนไลน์ผ่านมือถือ (Mobile Ecommerce Adoption) พุ่งขึ้นแซงหน้า หลายประเทศอย่าง จีน สิงคโปร์ เกาหลี และยังสูงกว่า มาตรฐานสากล โดยเฉลี่ยเสียด้วย

ตราบใดที่โลก ยังคงหมุนเวียน วันเวลาเดินไป และความเปลี่ยนแปลง ก็เกิดขึ้นตลอด เช่นเดียวกับโลก ทางด้านธุรกิจ ด้านการตลาด เพราะพฤติกรรม ของผู้บริโภค ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง เช่นเดียวกันนั้น เทรนด์คอมเมิร์ซต่าง ๆ จึงไม่มีสูตร บอกไว้ตายตัว แต่ต้องรับมือ กับการปรับตัว ตามกระแสสังคม อยู่ตลอดเวลา

เทรนด์คอมเมิร์ซ

เทรนด์คอมเมิร์ซ รูปแบบใหม่ ๆ ยังโตต่อเนื่อง

กระแสของการ ขายของออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในประเทศไทย เพราะกระแสนี้ มีมาก่อนหน้า กันพักใหญ่แล้ว ร้านค้าจำนวนมาก เริ่มขึ้นไปอยู่บน แพลตฟอร์มต่าง ๆ ใช้ช่องทางออนไลน์ สื่อสารกับลูกค้า แต่เทคโนโลยี และพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดวิธี การทำตลาด หรือเครื่องมือใหม่ ๆ มาสร้างโอกาส ได้มากยิ่งขึ้น

ในโลกยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของ ผู้บริโภค ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้อี-คอมเมิร์ซ (e-commerce) เป็นธุรกิจที่ มีการเติบโต อย่างน่าสนใจ และเพื่อให้บรรดา ผู้ประกอบการ ออนไลน์ไปจนถึง ร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ตกเทรนด์ และไม่พลาดโอกาส ทางธุรกิจ ที่ยังสามารถ เติบโตต่อไป ได้อีกไม่น้อย

เทรนด์คอมเมิร์ซ

โซเชียลคอมเมิร์ซ เครื่องมือทรงพลัง

ช่องทางหลักที่ ผู้ประกอบการ คนไทยใช้ใน การขายของยังเป็น โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) ขณะที่การขาย ผ่านมาร์เก็ตเพลส อยู่ที่ราว ๆ กว่าแสนล้านบาท แต่ในอนาคต มาร์เก็ตเพลสมีแผน จะดึงสินค้าบางกลุ่ม เข้ามาอยู่ใน แพลตฟอร์มของตัวเอง ให้ได้มากขึ้น ซึ่งโซเชียลคอมเมิร์ซ ก็เริ่มปรับตัว มากขึ้นเช่นกัน

มีการเปิดฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซเต็มตัว การเพิ่มบริการ เพิ่มเครื่องมือที่เอื้อ ให้สามารถขายของ ได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีฐาน ลูกค้าของตัวเอง ก็สามารถเข้าไป ​หาลูกค้าจาก ช่องทางต่างๆ บนโซเชียลมีเดียได้

รวมทั้งเริ่มเห็น อาชีพใหม่ที่เรียก “นักยิงแอด” เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นที่การ ยิงโฆษณาบน โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มเป็นหลัก การทำตลาดบน สังคมออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับนักการตลาด และผู้ใช้แน่นอน ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ และผู้บริโภคเอง ก็คุ้นกับแพลตฟอร์ม โซเชียลมีเดียกันแล้ว

แต่ไม่ว่าอย่างไร การพัฒนาของ เว็บไซต์ต่าง ๆ และแอปพลิเคชั่น ความทันสมัย ฟังก์ชันการใช้งาน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ตอบโจทย์ กับพฤติกรรม ของผู้บริโภค ในยุคสมัยนั้น ๆ

Live Commerce

ไลฟ์คอมเมิร์ซ  ตอบโจทย์คนยุคใหม่

ไลฟ์ คอมเมิร์ซ (Live Commerce) พฤติกรรมของ ผู้บริโภคปัจจุบัน ที่ชอบดูไลฟ์ และชอบแชทมากขึ้น ทำให้โอกาส ของการ “Live ขายของ” เติบโตอย่างมาก และเห็นได้ชัดถึง พัฒนาการของ แพลตฟอร์มที่มี ตัวช่วยต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการ สามารถไลฟ์สด ขายของได้ง่ายขึ้น

และพิสูจน์ได้ว่า การไลฟ์เป็นวิธี การขายที่ดี เพราะเป็นการสื่อสาร​ โต้ตอบรวมท้ัง โน้มน้าวการซื้อ ของลูกค้าได้ ต่างจาก​การขาย บนเว็บไซต์ที่ เป็นการสื่อสาร แค่เพียงทางเดียว หลายแพลตฟอร์มจึง เริ่มหันมาทำ เครื่องมือในการ ไลฟ์ขายของมากขึ้น

เพื่อแข่งขันกับ การไลฟ์สดผ่าน โซเชียลมีเดียต่าง ๆ แต่ในโซเชียล จะได้เปรียบมากกว่า เพราะสามารถเข้าถึง ผู้ชมได้ทันที โดยเฉพาะเพจที่ มีคนติดตาม เป็นจำนวนมาก

การไลฟ์ขายของสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

  1. ทำมาร์เก็ตติ้ง เช่น เปิดตัวสินค้าใหม่ ซึ่งจะต้องสร้าง การรับรู้ให้ได้ มากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ ต้องโฟกัสคือ จำนวนคนดู แบรนด์ต้องเข้าใจว่า ต้นทุนที่ลงไป นั้นยังไม่สามารถ วัดผลได้ทันที ยอดขายจะตามมา หลังจากการไลฟ์ ขายของจบแล้ว
  2. ทำเพื่อขาย ที่ต้องโฟกัสคือ ทำให้คนเข้ามา ดูนานที่สุด เพื่อให้เกิดการ มีส่วนร่วมกับ คอนเทนต์ของแบรนด์ ให้เกิดการสั่งซื้อ สินค้าให้มากขึ้น เห็นได้ชัดที่สุด คือการไลฟ์ในช่วง โปรโมชั่นพิเศษ 9.9, 10.10 และ 11.11

เทรนด์คอมเมิร์ซ

แชทคอมเมิร์ซ ตัวช่วยปิดการขาย

ปฏิเสธไม่ได้ ว่าหนึ่งในเทรนด์ ที่เข้ามามี บทบาทในการ ค้าขายออนไลน์ สร้างการเติบโต ให้กับอีคอมเมิร์ซ ในไทยเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ แชท คอมเมิร์ซ (Chat Commerce) การพูดคุยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ นำสู่ประสบการณ์ การซื้อของออนไลน์ ที่สะดวก ง่าย และสบายใจ

ถือเป็นรูปแบบ การซื้อขายที่ แตกต่างจากวิถี การซื้อขายเดิม ๆ ที่ต้องเห็นสินค้า ของจริงแล้วจึง ตัดสินใจซื้อ เป็นการสร้างความ สัมพันธ์ส่วนตัว ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ผ่านการพูดคุย เกิดความไว้วางใจ จนสามารถที่จะ ตัดสินใจซื้อได้ โดยไม่ต้องเห็น สินค้าจริง ๆ

ซึ่งผู้บริโภคไทย มีแนวโน้มการ เลือกซื้อสินค้า จากแบรนด์ที่ไว้ใจ มากกว่าปัจจัย เรื่องราคาด้วยซ้ำ ในปัจจุบัน ทั้งร้านค้าเล็ก ๆ ไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ เข้ามาสร้างตัวตน สร้างการบริการ ของตนเองผ่านแชท เพื่อให้เข้าถึง และสร้างความประทับใจ ให้ผู้บริโภค

โดยหลากหลายแบรนด์ ได้มีการนำ เทคโนโลยี เข้ามาร่วมใช้งาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพ สูงสุดอาทิ การใช้แชทบอท เพื่อพูดคุยข้อมูล เบื้องต้นกับลูกค้า ได้ตลอดเวลา แม้เป็นนอกเหนือ เวลาร้านเปิด ซึ่งจะช่วยให้ ไม่พลาดทุกการ ติดต่อสื่อสาร กับลูกค้าอีกด้วย

Recommended Articles